ระบบชื่อโดเมน ( Domain Name System )
การติดต่อสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ตต้องมีการอ้างอิงหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่าหมายเลขไอพี
(IP) ซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่สามารถจดจำได้ยาก โดยสามารถมีตัวเลขตั้งเเต่ชุดละ 1 หลัก เช่น 1.2.1.1 เเละ
อาจจะมีจำนวนมากถึง ชุดละ 3 หลัก เช่น 255.126.100.211 ซึ่งกรณีนี้ หากเครื่องดังกล่าวเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้ในการให้บริการเเบบเวิลด์ไวด์เว็บ (WORLD WIDE WEB) เเล้ว จะทำให้กาจดจำ
สามารถทำได้ยาก ดังนั้น ใน ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) จึงเริ่มใช้ระบบดีเอ็นเอส (DNS : DOMAINNAME
SERVER) ซึ่งระบบดังกล่าวถูกสร้างมาเพื่อใช้ทดเเทนการจดจำหมายเลขไอพี เเต่จะใช้วิธีจำโดยใช้ชื่อโดเมน (DOMAIN NAME) เเทนหมายเลขเครื่อง ชื่อโดเมนจึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
เเละเมื่อมีการเปลี่ยนเเปลงไอพีเเอดเดรสของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ผู้ใช้งานในระบอินเทอร์เน็ต
ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือต้องจดจำไอพีเเอดเดรสใหม่ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้งาอินเทอร์เน็ตยังสามารถใช้ชื่อโดเมนเดิมที่จดจำอยู่ได้ต่อไป ซึ่งระบบดีเอ็นเอสนี้มีการใช้งานทั่วโลก จึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างที่เป็นข้อตกลงเพื่อให้สามารถจดจำเเละเเนกประเภทการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้
1. หลักการตั้งชื่อโดเมน ชื่อโดเมน (Domain Name) มีหลักการตั้งชื่อ ดังนี้
1.1 สามารถใช้ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข เเละเครื่องหมาย - (ยัติภังค์) ได้
1.2 โดยปกติจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร เเละลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
1.3 มีความยาวตั้งเเต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
1.4 ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1.5 ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - เเละต้องไม่มีการเว้นช่องว่าง (Space)
2. ประเภทของชื่อโดเมน เเบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โดเมนสองระดับ เเละโดเมนสามระดับ
2.1 โดเมนสองระดับ โดเมนเเบบนี้จะประกอบด้วยชื่อโดเมน เครื่องหมายจุด เเละลักษณะ
ขององค์กรหรือหน่วยงานที่เป็นชื่อตัวย่อของโดเมนสากล หรือจีทีเเอลดี (gTLD : generic Top-Level
Domain Name) ซึ่งจัดเเบ่งตามลักษณะของการใช้งานของเครื่องหรือองค์กรนั้น ๆ เช่น
.com ย่อมาจาก Commercial สำหรับธุรกิจ
.ebu ย่อมาาก Education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก Internetional Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่เเสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครื่อข่ายของตนเองเเละทำธุรกิด้าน เครื่อข่าย โดยชื่อโดเมนระดับนี้จะไม่ระบุสัญชาติว่าเป็นโด
เมนของประเทศใด
.ebu ย่อมาาก Education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก Internetional Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่เเสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครื่อข่ายของตนเองเเละทำธุรกิด้าน เครื่อข่าย โดยชื่อโดเมนระดับนี้จะไม่ระบุสัญชาติว่าเป็นโด
เมนของประเทศใด
ตัวอย่างโดเมนสองระดับ
สามารถอธิบายได้ดังนี้
facebook.com facebook คือ ชื่อโดเมนที่สื่อความหมายของหน่วยงาน
com คือ ชื่อโดเมนที่ระบุว่าเป็นหน่วยงานทางธุรกิจ
สามารถอธิบายได้ดังนี้
msn.net msn คือ ชื่อโดเมนที่สื่อความหมายของหน่วยงาน
net คือ ชื่อโดเมนที่ระบุว่าเป็นหน่วยงานที่ทำธุรกิจด้านเครืข่าย
2.2 โดเมนสามระดับ ชื่อโดเมนในลักษณะนี้จะประกอบด้วย ชื่อโดเมน ตัวย่อที่อยู่ด้านหลัง
เครื่องหมายจุด ใช้ระบุประเภทขององค์กรเเละตัวย่อที่ระบุประเทศที่ก่อตั้งขององค์กรนั้น ๆ เช่น
.ac.th ย่อมาจาก academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
.co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
.go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล
.net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัททำธุรกิจด้านเครือข่าย
.or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่เเสวงหากำไร
.in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่ว ๆ ไป
โดยตัวย่อโดเมนประจำสัญชาติ หรือซีซีเเอลดี (ccTLD : country code Top-Level Domain Name) เป็นหลักการจัดเเบ่งตามลักษณะขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือชื่อประเทศ ดังตัวอย่าง
.th (ไทย) .uk (อังกฤษ) .jp (ญี่ปุ่น)
.es (เสปน) .kr (เกาหลีใต้) .fr (ฝรั่งเศส)
ตัวอย่างโดเมนสามระดับ
สามารถอธิบายได้ดังนี้
obec.go.th obec คือ ชื่อโดเมนที่ตั้งขึ้นเพื่อระบุองค์กร คือ สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
go คือ ชื่อโดเมนที่ระบุว่าเป็นหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล
th คือ ชื่อโดเมนที่ระบุว่าเป็นประเทศไทย
สามารถอธิบายได้ดังนี้
su คือ ชื่อโดเมนขั้นที่สามมาจากคำว่า Silpakorn
University เป็นคำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัย ศิลปากร
ac คือ ชื่อโดเมนที่ระบุว่าเป็นสถานศึกษา
th คือ ชื่อโดเมนที่ระบุว่าเป็นประเทศไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น